นายฐิติพงศ์ โพธิพรหม หรือ “ช่างเบิร์ด” หัวหน้าผู้รับเหมาระบบไฟที่ไม่ได้รับเงินค่าจ้างจากการเข้าไปติดตั้งระบบไฟที่ตึก สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง. ซึ่งพังถล่มลงมาเดินทางมา
พบกับตัวแทนบริษัท9PKและ China Railway Group Limited หรือ CREC เพื่อ เจรจาเกี่ยวกับประเด็นค่าจ้างที่ยังไม่ได้รับ
โดยตัวแทนบริษัท 9PK ชี้แจงว่า ข่าวที่ปรากฏออกมาส่วนตัวมองว่าผิดไปจากข้อเท็จจริง ซึ่งบริษัทของตัวเองเปิดกิจการรับเหมาก่อสร้างมานานกว่า 30 ปี ตั้งแต่ปี 2539 มีทุนจดทะเบียนกว่า 100 ล้านบาท โดยทีมงานของตัวเองประกอบด้วยชีวิตวิศวกร // โฟร์แมน ซึ่งที่ผ่านมาก็ทำงานรับเหมาก่อสร้างมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อได้รับข่าวว่าจะมีการก่อสร้างตึกอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือ สตง. ทางบริษัทจึงได้ติดต่อเพื่อขอรับงานจาก China Railway Group Limited หรือ CREC ซึ่งก็ผ่านกระบวนการรับงานของผู้รับเหมาฯตามขั้นตอนปกติ โดยมีการตั้งกรอบงบประมาณการก่อสร้าง 520 ล้านบาท และเริ่มก่อสร้างในปี 2563 ซึ่งตลอดระยะเวลา3 ปี ที่ผ่านมาใช้คนงานในการดำเนินการทั้งหมด 27 คน มีค่าใช้จ่ายเดือนละ 1 ล้านบาท ซึ่งการดำเนินงานส่วนนี้พบว่ามีค่าใช้จ่ายรวมกว่า 60 ล้านบาท และไม่ได้อยู่ในเอกสารเสนอราคา ขณะเดียวกันยังพบว่าวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างขณะนี้มีราคาสูงกว่าราคาที่ตั้งไว้ ถึงร้อยละ 10 ถึง 20 เมื่อราคาเพิ่มขึ้นทางบริษัท ต้นสังกัดทั้ง 2 แห่ง ได้มาสอบถามว่าทางบริษัทจะยังคงดำเนินการต่อก่อสร้างต่อหรือไม่ ซึ่งทางบริษัทก็ยืนยันว่าจะเดินหน้าโครงการต่อแม้จะขาดทุน ซึ่งภายหลังที่บริษัทยืนยันว่าจะดำเนินโครงการต่อทาง CREC ก็ได้เข้ามา ยื่นข้อเสนอว่าจะเพิ่มเงินให้อีก 20 ล้านบาท ซึ่งทางผู้รับเหมาก็รู้สึกสงสัยว่าเหตุใด บริษัทต้นสังกัดจึงเสนอเงินให้เพิ่ม เนื่องจากบริษัทเซ็นสัญญาราคา 60 ล้านบาทไปแล้ว แต่ทางบริษัทต้นสังกัดก็ได้ร่างสัญญาฉบับหนึ่งขึ้นมา เพื่อเพิ่มเงินให้อีก 20 ล้านบาทเพื่อให้ผู้รับเหมาดำเนินงานให้แล้วเสร็จ ซึ่งการกระทำลักษณะนี้หากมองในมุมการลงทุนด้านวิศวกรรม
หากมีการประเมินราคาก่อสร้างไว้ที่ 60 ล้านบาท ทางบริษัทผู้รับเหมาสามารถเบิกเงินได้ตามความคืบหน้าของงาน ซึ่งทางบริษัทผู้รับเหมาก็ไม่ได้มีการสำรองจ่ายเงินไปก่อน โดยจะรับเงินค่าจ้าง หลังดำเนินงานแล้วเสร็จ 1 เดือน ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการดำเนินงานทุกวัน แต่กลับพบว่าทางบริษัทต้นสังกัดจ่ายเงินค่าจ้างให้ล่าช้า หนักที่สุดคือ จ่ายล่าช้ากว่า 10 เดือน ยืนยันทางบริษัทตัวเองมีเอกสารยืนยัน // ส่วนการทำงานที่ผ่านมาจากผลงานที่บริษัทสามารถทำได้ พบว่ามีการก่อสร้างไปรวมมูลค่ากว่า 195 ล้านบาท แต่บริษัทตัวเองได้รับค่าจ้างเพียง 110 ล้านบาท ซึ่งตรงจุดนี้ บริษัทตัวเอง จะต้องมีการตรวจสอบหาตัวเลขค่าใช้จ่ายที่ถูกต้องกับบริษัทผู้จ้างงานอีกครั้ง
ส่วนประเด็นที่หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าเหตุใดจึงยอมให้บริษัทผู้ว่าจ้างค้างชำระเงินเป็นระยะเวลานาน ตัวแทนบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้าง ระบุว่า ที่ผ่านมาผู้รับเหมาฯทุกคนก็อยากได้ได้รับค่าจ้างทันทีแต่เมื่อทวงถามไปยังผู้ว่าจ้างก็ไม่รับเงินกลับมา ที่ผ่านมาทางบริษัทได้พยายามประคับประคองและจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างในส่วนที่สามารถทำได้ กระทั่งเมื่อช่วง เดือนตุลาคม ปี 2567 บริษัทตัวเองได้เริ่มชะลอการก่อสร้าง เพราะไม่ได้รับค่าจ้าง ทำให้นายฐิติพงศ์ ไม่ได้รับค่าจ้างเต็มจำนวน โดย มีการค้างชำระไปกว่า 3 ล้านบาท ยืนยันทางบริษัทไม่ได้มีเจตนาที่จะไม่ชำระเงินให้ และได้พยายามหาเงินมาชำระให้อยู่ตลอด แต่อาจจะต้องใช้ระยะเวลา เพราะตัวเองก็ต้องรอเบิกเงินค่างวดงาน
โดยระหว่างการ แถลงข่าว ตัวแทนจากบริษัท CREC ได้ลุกขึ้นปฏิเสธและอ้างว่า กลุ่มบริษัทผู้รับเหมาPK9 ให้ข้อมูล บิดเบือนข้อเท็จจริง ซึ่งทางตัวแทนPK9 และ ได้ลุกขึ้นและเดินออกจากวงแถลง
ด้านตัวแทนบริษัทPK9 ระบุว่า เงินจำนวน 5 ล้านบาทที่บริษัท CREC ที่หักไว้ ส่วนนี้จะให้ CREC นำมาจ่ายชดเชยให้กับตัวแทนผู้รับเหมาที่ยังไม่ได้รับค่าจ้างทันที แต่ยังติดปัญหาที่บริษัท CREC ซึ่งอ้างว่ากรมแรงงานระบุว่าให้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวกับแรงงานโดยตรงแทนการรับจากผู้รับเหมาฯ
ด้านนายฐิติพงศ์ เปิดเผยว่า จากการพูดคุยกับตัวแทนบริษัทCREC ให้เหตุผลว่าสาเหตุที่ไม่จ่ายเงินให้กับตัวแทนผู้รับเหมาเพราะเกรงว่าเงินจะไม่ถึงแรงงาน แต่ตัวเองก็ ระบุไปว่าหากรู้สึกกังวลก็ให้นำเงินค่าจ้างมามอบต่อหน้าสื่อ และทำสัญญาขึ้นมา ซึ่งเมื่อวานที่ผ่านมาทางบริษัทต้นสังกัดก็ตอบตกลง แต่วันนี้กลับมีท่าทีที่จะไม่ยอมชำระเงินค่าจ้างให้ตามสัญญา รวมถึงยังแสดงท่าทีไม่พอใจ ซึ่งที่ผ่านมาตัวเองไม่สามารถทวงเงินโดยตรงกับบริษัทต้นสังกัดได้และทำได้เพียงติดต่อขอเงินจากผู้รับเหมาคือบริษัทPK9 เท่านั้น และเหตุการณ์วันนี้ก็ทำให้ไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับประเด็นการจ่ายค่าจ้างที่คงค้างอยู่