รวบ “มือการเงิน” 120 ล้าน เครือข่ายยาเสพติดภาคเหนือจากยา 6 ล้านเม็ด

นายธนกิตติ์ฯ อายุ 61 ปี

กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ (บก.ปคม.) ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก., พล.ต.ต.ณัฐพงษ์ สัตยานุรักษ์ รอง ผบช.ก., พล.ต.ต.ทรงกลด เกริกกฤตยา ผบก.ปคม., พ.ต.อ.กรีธา ตันคณารัตน์, พ.ต.อ.จตุรภัทร์ ภิรมย์แก้ว, พ.ต.อ.ณรงค์ เทศวิบูลย์, พ.ต.อ.มารุต กาญจนขันธกุล, พ.ต.อ.เศรษฐณัณข์ ปิยะสมบูรณ์, พ.ต.อ.ดวงโชติ สุวรรณจรัส, พ.ต.อ.รัชภูมิ กุสุมาลย์ รอง ผบก.ปคม., พ.ต.อ.พงศกร โนรี ประจำ(สบ 5) บก.ปคม., พ.ต.อ.ศราวุธ จันต๊ะวงค์ ผกก.3 บก.ปคม., พ.ต.ท.พลวุฒิ ผาตินุวัติ, พ.ต.ท.ทรงวุฒิ ใจดีจริง รอง ผกก.3 บก.ปคม.
เจ้าหน้าที่ชุดจับกุม กก.3 บก.ปคม. ประกอบด้วย พ.ต.ท.ธีรโชติ นุ่นสพ สว.กก.3 บก.ปคม., ร.ต.อ.นนทพัทธ์ กาวชู พร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.3 บก.ปคม.

ร่วมกันจับกุม นายธนกิตติ์ฯ อายุ 61 ปี ในความผิดฐาน “สนับสนุนหรือช่วยเหลือผู้กระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดฐานร่วมกันจำหน่ายยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรงในประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน)
โดยการมีไว้เพื่อจำหน่าย อันเป็นการกระทำเพื่อการค้า และเป็นการก่อให้เกิดการแพร่กระจายในกลุ่มประชาชน และเป็นการทำให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความปลอดภัยของประชาชนทั่วไปโดยผิดกฎหมาย และสมคบกันตั้งแต่สามคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงินและได้มีการกระทำความผิดฐานฟอกเงิน
เพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน” ตามหมายจับของศาลจังหวัดเชียงใหม่ ที่ จ.943/2567 ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2567 ซึ่งหมายจับดังกล่าวอยู่ในโครงการประกาศสืบจับผู้ต้องหาคดียาเสพติดรายสำคัญ ตามหมายจับ ประจำปี 2568 ลำดับที่ 146 ของสำนักปราบปรามยาเสพติด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
และจากการตรวจสอบพบว่า ผู้ต้องหา ยังมีหมายจับของศาลจังหวัดเชียงใหม่ ที่ จ.925/2567 ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2567 ในความผิดฐาน “สนับสนุนหรือช่วยเหลือผู้กระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด ฐานสมคบโดยตกลงร่วมกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป เพื่อกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดฯ อีก 1 หมาย
สถานที่จับกุม บริเวณปากซอยแห่งหนึ่งใน จังหวัดสุพรรณบุรี

พฤติการณ์ เมื่อกลางปี 2566 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทลายการขนยาเสพติดเครือข่ายภาคเหนือ ด้วยการจับกุมนักลำเลียงยาได้ 1 คน ของกลางยาบ้าถึง 30 กระสอบ จำนวน 6,000,000 เม็ด และยาไอซ์อีก 30 กิโลกรัม ที่ซุกซ่อนเตรียมส่งลักลอบลำเลียงยาเสพติดจากชายแดนภาคเหนือตอนบนส่งต่อไปยังลูกค้าในพื้นที่ภาคกลางของประเทศ เพื่อกระจายให้กลุ่มผู้ค้ารายย่อยและนักเสพยา แต่การจับครั้งนั้นเองที่ทำให้เจ้าหน้าที่เห็นภาพเบื้องหลังที่ใหญ่กว่านั้น พบว่านี่คือการทำงานแบบ “ครบวงจร” ของเครือข่ายยาเสพติดรายใหญ่
ที่มีการ “แบ่งหน้าที่กันทำ” อย่างชัดเจน มีตั้งแต่ “นักขนยา” หรือนักลำเลียง:คนที่ต้องรับความเสี่ยงสูงสุด แบกยาเสพติดจากชายแดนลงมาตามคำสั่ง

ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ขยายผลพบว่า เครือข่ายนี้ขนยามาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ครั้ง โดยครั้งที่ถูกจับกุมเป็นครั้งที่ 6 และจากการสืบสวนพบว่า นายธนกิตติ์ฯ ผู้ต้องหาตามหมายจับ มีพฤติการณ์ เปิดบัญชีให้เครือข่ายดังกล่าวมีหน้าที่บริหารบัญชี จัดการเงิน โอนเงินจ่ายค่าจ้างให้นักขนยาที่เพิ่งถูกจับไป รวมถึงจัดการเงินที่ได้จากการค้ายาทั้งหมด ทั้งกดเงินสด โอนเงินไปให้หัวหน้าขบวนการ บางทีขนเงินสดข้ามพรมแดนไปส่งให้ผู้ว่าจ้างฝั่งประเทศเพื่อนบ้าน และจากการตรวจสอบบัญชีของ นายธนกิตติ์ฯ ยังพบว่ามีเงินหมุนเวียนที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายยาเสพติดนี้สูงถึงกว่า 120 ล้านบาท จากพฤติการณ์ดังกล่าว เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงขออนุมัติศาลออกหมายจับ นายธนกิตติ์ฯ เพื่อติดตามตัวมาดำเนินคดีตามกฎหมาย แต่เมื่อนายธนกิตติ์ฯ ทราบว่านักขนยา
ที่ถูกว่าจ้างถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมได้แล้ว และเชื่อว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะขยายผลถึงตนเองแน่นอน นายธนกิตติ์ฯ จึงได้หลบหนีผ่านช่องทางธรรมชาติไปกบดานที่ประเทศเพื่อนบ้าน กว่า 1 ปี


ต่อมา สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) ได้ประกาศขึ้นบัญชี “ผู้ต้องหาคดียาเสพติดรายสำคัญ” โดยระบุชื่อ นายธนกิตติ์ฯ เป็นผู้ต้องหาขึ้นบัญชีดำ ลำดับที่ 146 ประจำปี 2568 พร้อมประกาศ “ตั้งค่าหัวรางวัล” เพื่อเป็นแรงจูงใจให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกหน่วย เร่งรัดติดตามจับกุมตัวมา
ให้ได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.3 บก.ปคม. ได้สืบสวนติดตามจับกุมผู้ต้องหารายนี้มาโดยตลอดจนทราบว่าผู้ต้องหาได้แอบหลบหนีกลับเข้ามาประเทศไทยกบดานอยู่ที่บ้านหลังหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.3 บก.ปคม. จึงได้เดินทางไปเฝ้าสังเกตการณ์บริเวณหน้าบ้านหลังดังกล่าว จากนั้นเห็นชายที่มีตำหนิรูปพรรณตรงกับผู้ต้องหา จึงได้แสดงตัวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าตรวจสอบ พบว่าเป็นผู้ต้องหา จึงได้ดำเนินการจับกุมตัว พร้อมแจ้งสิทธิ และแจ้งข้อกล่าวหาตามหมายจับให้ผู้ต้องหาทราบ จากนั้นนำตัวผู้ต้องหาส่ง
พนักงานสอบสวน สภ.ช้างเผือก เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป


สอบถามคำให้การผู้ต้องหาเบื้องต้น ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) เตือนภัย ยาเสพติดไม่เพียงแต่ทำลายสุขภาพของผู้เสพ แต่ยังส่งผลกระทบต่อครอบครัว และสังคมในวงกว้าง ดังนั้น การร่วมมือกันเฝ้าระวังและแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับยาเสพติด
จึงเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน

“ผู้ว่าจ้าง” หรือตัวบงการ: คนคอยสั่งการใหญ่ จัดหายาเสพติดจากต้นทาง

“ผู้บริหารบัญชีเงิน” หรือมือการเงิน: ตำแหน่งสำคัญคอยดูแล ด้านการเงินทั้งหมด คอยจัดการเงินหมุนเวียนมหาศาล

Total
0
Shares
Previous Article

แม่ร้องกันจอมพลังลูกสาววัย 13 ปี ถูกแฟนและเพื่อนทำร้ายร่างกาย

Next Article

สภาวิศวกร ย้ำ เร่งดำเนินการสอบสวนวิศวกรเอี่ยวตึกสตง.ถล่ม

Related Posts