ผู้บริหารอิตาเลี่ยนไทยเปิดใจสื่อครั้งแรก

นายเกรียงศักดิ์ กอวัฒนา รองประธานบริหารอาวุโส บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)

ผู้บริหารอิตาเลียนไทยฯ ชี้แจงสื่อเป็นครั้งแรก เรื่องแก้แบบแปลนโครงการสร้างตึก สตง. เผย ผู้รับเหมาส่งเอกสารสอบถามถึง700ฉบับ เพราะแบบแปลนขัดแย้งกับการก่อสร้าง ระบุ ผเผยรับรู้กระบวนการทั้งหมดทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอนถูกต้องมีหลักฐาน ยืนยัน แม้แก้ไขแบบแต่ใช้สเป็ควัสดุเท่าเดิม “ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไปใช้วัสดุอะไรที่ไม่ได้มาตรฐาน” พร้อมปฏิเสธ ไม่ทราบมีการปลอมลายเซ็นวิศวะกรผู้ออกแบบ

นายเกรียงศักดิ์ กอวัฒนา รองประธานบริหารอาวุโส บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ให้สัมภาษณ์ ในฐานะกิจการร่วมค้า และเป็นผู้รับเหมาโครงการก่อสร้าง อาคารสตง. หลังเกิดเหตุอาคารถล่ม ว่า “จริงๆ เราอยากจะพูดอะไรหลายๆอย่าง แต่อยู่ระหว่างการสอบสวนจังไม่อยากพูดอะไรที่ไปกระทบกับส่วนอื่นๆ เราขอยืนยันว่า เราเป็นผู้รับเหมา เราเซ็นสัญญากับ สตง. แล้วทำงานตามแบบ ในกระบวนการของการทำงานก็มีการตรวจสอบกันอย่างเข้มข้น เราไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไปใช้วัสดุอะไรที่ไม่ได้มาตรฐาน เอกสารที่บริษัท โดยกิจการร่วมค้ายื่นขออนุมัติจากทางผู้ควบคุมงาน และคณะกรรมการตรวจรับวัสดุ เราก็มีครบถ้วนเพื่อยืนยันความบริสุทธิ์ของเรา”

ส่วนการแก้ไขแบบแปลนการก่อสร้าง บริษัทอิตาเลียนไทยฯ รับรู้รับทราบด้วยหรือไม่ นายเกรียงศักดิ์ ระบุว่า ในฐานะที่ เป็นผู้รับเหมา ก็ได้ทำตามสัญญาการก่อสร้าง และเมื่อมีการแก้ไขแบบซึ่งก็มาจากทางผู้ออกแบบ และเจ้าของงานที่มีความประสงค์จะแก้ไข ดังนั้นบริษัทฯ ก็จะต้องทำตาม เพราะเขามีคำแนะนำมาให้ ซึ่งบริษัทมีเป็นหลักฐานทุกอย่าง

“ส่วนถ้าถามว่ารู้รึเปล่า เราอยู่ในหน่วยงานเราก็รู้อยู่แล้ว ว่าเขาขอให้เราแก้ไขแบบ แล้วถ้าถามต่อว่า รู้หรือไม่ว่าแบบแข็งแรงหรือไม่ คือ เราไม่ทราบ ต้องเข้าใจว่า ตึกนี้ 30ชั้น ถ้าเราแก้ไขอะไรสักอย่างเราต้องไปพิจารณา วิเคราะห์ ตึกทั้งตึก เพราะฉะนั้นจะมาดูแบบกันเฉยๆแล้วมาบอกว่าได้หรือไม่ได้ มันไม่ใช่หน้าที่ของผู้รับเหมาอยู่แล้ว และเราไม่มีความสามารถที่จะไปทำแบบนั้น”

นายเกรียงศักดิ์ ย้ำว่า ที่มีการแก้ไขแบบ ถึง9ครั้ง ไม่ใช่ว่า เราไม่รับทราบ แต่เรารับทราบและเรารู้ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีการพูดคุยกันในที่ประชุมทุกครั้ง และมีหนังสือสั่งการให้บริษัทตนเองทำ พร้อมยกตัวอย่างว่า การแก้ไขแบบทุกครั้งหากมีผลกระทบกับงบประมาณ ตนเองก็จะต้องทำงานลด ให้กับทางราชการ อย่าง เรื่องของการลดความหนาของผนังลิฟท์ เราก็ต้องทำเป็นงานลด ไม่ใช่เรื่องการฮั้ว กันเพื่อลดงานแล้วผู้รับเหมาได้รับผลประโยชน์ตามที่เขียนข่าวกัน

ส่วนเรื่องการแก้ไขแบบ สตง.เป็นผู้ขอให้แก้ไขแบบหรือไม่นั้น นายเกรียงศักดิ์ ระบุว่า ตนเองไม่ทราบ พร้อมชี้แจงว่า เมื่อได้รับแบบมาแล้ว แบบอาจจะเกิดความขัดแย้งกัน โดยโครงการนี้ มีแบบขัดแย้งกันจำนวนมาก เช่น แบบโครงสร้างไปขัดแย้งกับแบบงานสถาปัตยกรรม แบบสถาปัตยกรรมไปขัดแย้งกับงานระบบ และแบบงานระบบไปขัดแย้งกับงานตกแต่งภายใน ซึ่งในเรื่องของแบบขัดแย้งตนเองได้ออกเอกสารสอบถามไปถึง700ฉบับ เพื่อสอบถามไปยังผู้ควบคุมงานว่าจะให้บริษัทเราทำอย่างไร จะให้ทำตามแบบโครงสร้างหรือให้ทำตามแบบสถาปัตฯ เพราะตนเองทำไม่ได้เนื่องจากแบบมันขัดแย้งกัน และถ้าตนเองทำตามแบบโครงสร้าง ก็ไปขัดแย้งกับแบบงานสถาปัตฯ ดังนั้นจึงต้องถาม ซึ่งเป็นหลักปกติที่จะต้องถาม เพราะทุกโครงการมีเรื่องแบบขัดแย้งกันอยู่แล้ว

เมื่อถามถึงกรณีการแก้ไขปล่องลิฟท์ล่าสุดมีการชี้แจงในที่ประชุมว่าอย่างไรนั้น นายเกรียงศักดิ์ ระบุว่า ตอนนั้นทางเดินระหว่างปล่องลิฟท์ มีความกว้างไม่เป็นไปตามกฎหมาย ที่ประชุมจึงได้มีการสอบถามกันว่าควรทำอย่างไร และอาคารสตง.เป็นตึกราชการ จึงไม่จำเป็นต้องขออนุญาตก่อสร้างกับทางกทม. แต่เป็นการแจ้งเพื่อทราบเท่านั้น พร้อมยืนยันว่า แม้มีการแก้ไขแบบอยู่หลายครั้ง แต่ยังใช้สเป็ควัสดุ ทั้งเหล็ก ปูน สเป็คเดิม

นายเกรียงศักดิ์ กล่าวต่อว่า ในความขัดแย้งกันยังมีหลายกรณี บางกรณีเราตรวจเจอก่อน เราก็เขียนเอกสารไปสอบถาม หรือที่เรียกว่า เอกสารRFI ซึ่งในส่วนของปล่องลิฟท์ บริษัทฯได้เขียนเอกสารไปสอบถามผู้ควบคุมงาน ซึ่งผู้ควบคุมงานก็นำไปปรึกษาในที่ประชุมของคณะกรรมการตรวจการจ้าง จากนั้นก็หนึ่งในคณะกรรมการเสนอว่า ประเด็นนี้ควรไปสอบถามผู้ออกแบบ ซึ่งทาง กิจการร่วมค้า PKW จึงได้สอบถามไปทางผู้ออกแบบ โดยทางผู้ออกแบบได้ให้ความเห็นมาว่าจะทำอย่างไร ก่อนส่งเรื่องกลับมาให้ทาง PKW แล้ว PKW ก็นำเรื่องเข้าสู่คณะกรรมตรวจการจ้างอีกครั้ง หลังจากนั้น เมื่อที่ประชุมเห็นตรงกันว่าเอาตามที่ผู้ออกแบบเสนอมา ทางPKW ก็จะส่งเรื่องมาให้บริษัทตนเอง เพื่อให้ดำเนินการตามที่เขาสั่งมา

ส่วนในที่ประชุมมีการพูดคุยเรื่องความปลอดภัยหากในการแก้ไขแบบหรือไม่นั้น นายเกรียงศักดิ์ บอกว่า เรื่องนี้ตนเองอาจจะไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ ซึ่งจริงๆแล้วคนออกแบบเป็นคนดูแลเรื่องความปลอดภัยนี้อยู่ หากผู้ออกแบบยืนยันว่าทำได้ ก็ดำเนินการตามนั้น

พร้อมยืนยันว่า ขั้นตอนในการดำเนินการ เป็นไปอย่างถูกต้องทุกขั้นตอน ส่วนเรื่องของการปลอมลายเซ็น นายเกรียงศักดิ์ ยืนยันว่า บริษัทไม่รู้เพราะตนเองไม่ได้มีหน้าที่ไปตรวจลายเซ็นใคร

ขณะที่ ผู้สื่อข่าวกำลังถามประเด็นเรื่อง เอกสารสอบถามไปถึง700ฉบับเรื่องแบบแปลนมีความขัดแย้งกันนั้น เป็นเรื่องปกติหรือไม่

แต่ผู้แทนบริษัทไชน่าเรียลเวย์ฯ ได้เข้ามาเพื่อจะพานายเกรียงศักดิ์ ไปมอบเงินเยียวยาให้กังครอบครัวผู้เสียหาย ซึ่งเป็นจังหวะที่นายเกรียงศักดิ์ ยังตอบคำถามไม่แล้วเสร็จ โดยมีการดึงแขนนายเกรียงศักดิ์ ออกจากวงสัมภาษณ์ของสื่อมวลชนทันที แล้วอ้างว่ามีประชาชนรออยู่

Total
0
Shares
Previous Article

สภาวิศวกร ย้ำ เร่งดำเนินการสอบสวนวิศวกรเอี่ยวตึกสตง.ถล่ม

Next Article

สาวไม่พอใจถูกเตือนเสียงดังในร้านกาแฟ เรียกผัวมาตบ!!

Related Posts