เมื่อเช้าวันที่ 1 เมษายน 2568 ที่บ้านผาสุก ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ชาวบ้านพบปรากฏการณ์ ปลากองวางไข่ เป็นจำนวนมากในลำน้ำมาง สาขาของแม่น้ำน่าน ซึ่งเป็นเหตุการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้ยาก และถือเป็นจุดเดียวในประเทศไทยที่มีรายงานการวางไข่ลักษณะนี้ปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ แสดงถึงความสมบูรณ์ของระบบนิเวศในแม่น้ำน่าน

จากข้อมูลของกรมประมง ระบุว่า ปลาที่รวมตัวกันเป็นฝูงใหญ่และขึ้นมาวางไข่ในพื้นที่นี้ เป็น ปลาปีกแดง (Hypsibarbus vernayi) ในวงปลาตะเพียน ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดที่ต้องการแหล่งน้ำสะอาด มีระดับออกซิเจนสูง และมีตะกอนพื้นท้องน้ำที่เหมาะสมสำหรับการวางไข่ พฤติกรรมนี้มักเกิดขึ้นในช่วงต้นฤดูร้อนก่อนฤดูฝน โดยปลาจะวางไข่ในแหล่งน้ำตื้นที่ไหลเอื่อย และเมื่อลูกปลาฟักออกมา ก็จะไหลไปตามกระแสน้ำลงสู่แหล่งน้ำหลัก

โดยพบพ่อแม่พันธุ์ปลาปีกแดงขึ้นมาวางไข่จำนวนมาก ซึ่งตามธรรมชาติของปลาชนิดนี้ จะมีพฤติกรรม ว่ายทวนน้ำขึ้นไปผสมพันธุ์วางไข่และเลี้ยงตัวอ่อนในบริเวณพื้นที่ต้นน้ำที่มีลักษณะน้ำตื้นเป็นหาดหรือเป็นโขดหิน หรือที่เรียกกันว่า”ปรากฏการณ์ปลากอง”

โดยก่อนเกิดปรากฏการณ์นี้จะมีเหตุบ่งบอก เช่น ท้องฟ้ามืดครึ้ม อากาศเย็นผิดปกติ และมีนกเค้าแมวส่งเสียงร้องดังไปทั่วบริเวณ ซึ่งถือว่าแปลกประหลาดและน่าอัศจรรย์ใจ อีกทั้งปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นตรงกับวันขึ้น 14 และ 15 ค่ำ หรือวันพระ เพียงแค่วัน หรือสองวัน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม
ปีนี้ถือว่ามีสภาพอากาศที่แปรปรวน ทำให้เกิดปรากฏการณ์ปลากอง แทบจะทุกวันพระตลอดเดือนกุมภาพันธ์ ปลาออ หรือปลากอง เป็นพฤติกรรมของปลาปีกแดง ที่ใน 1 ปีโดยเฉพาะช่วงเดือน กุมภาพันธ์ / มีนาคม จะพากันว่ายทวนน้ำมาผสมพันธุ์-วางไข่ตามลำน้ำ โขดหินในลำน้ำมาง / ลำน้ำว้า ซึ่งเป็นสาขาแม่น้ำน่าน โดยมีความโดดเด่นคือ จะพากันมาเป็นฝูงนับหมื่นนับแสนตัว ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำ ซึ่งนับว่าเป็นปรากฏการณ์ที่พบยาก หรือจะเรียกได้ว่าพบที่เดียวในประเทศไทยก็ว่าได้
ด้านนายคฑาวุธ ปานบุญ ประมงจังหวัดน่าน ระบุว่า การเกิดปลากองวางไข่ในบริเวณนี้ เป็นสัญญาณที่ดีของความสมบูรณ์ของระบบนิเวศน้ำจืด เพราะแหล่งน้ำต้องมีคุณภาพดีเพียงพอจึงจะดึงดูดปลามาวางไข่เป็นจำนวนมากได้โดยชี้แจงกลับผู้สื่อข่าวว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหวขณะตามที่มีกระแสข่าวลือ ปรากฏการณ์ปลากองวางไข่ที่บ้านผาสุก ตำบลภูฟ้า อ.บ่อเกลือ จ.น่าน เป็นเหตุการณ์ธรรมชาติ ไม่เกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหว แต่เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำ ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังร่วมมือกันในการอนุรักษ์เพื่อให้ปลาสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างยั่งยืน
“ปลากอง” หรือ “ปลาออ” ตามที่ชาวบ้านเรียกเกิดจากการที่ฝูงปลาปีกแดงจำนวนมากว่ายทวนน้ำขึ้นมาผสมพันธ์ุกันตามแก่งต่างๆโดยระยะเวลาที่เกิดปรากฎการณ์ดังกล่าวก็เป็นช่วงเวลาสั้นๆ ไม่กี่ชั่วโมง สำหรับปีนี้ เกิดปรากฎการณ์ปลากองเกิดขึ้นตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ คือเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2568 และวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 ที่บ้านผาสุข ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน วันที่ 4 มีนาคม 2568 ที่บ้านผักเฮือก ตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน และล่าสุดเมื่อเช้าของวันที่ 1 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา โดยตามสถิติ ของปีนี้ ปรากฏการณ์ปลากองจะเกิดขึ้นเฉพาะวันอังคาร และวันศุกร์
ขณะที่ประมงจังหวัดน่านและประมงอำเภอร่วมกันออกรณรงค์ประกาศให้ชาวบ้านห้ามจับปลาในฤดูวางไข่ และห้ามใช้อุปกรณ์จับปลาที่มีการห้ามในช่วงฤดูปลาขยายพันธุ์ นอกจากนี้ยังได้วางแนวทางในการจัดพื้นที่อนุรักษ์พันธุ์ปลาแบบธรรมชาติ ในแม่น้ำน่านและลุ่มน้ำสาขาต่างๆ ของแม่น้ำน่าน ด้วยการสร้างเขตพื้นที่ห้ามจับปลาตามหน้าวัดเขตอภัยทาน โดยใช้ความเชื่อมาเป็นส่วนในการอนุรักษ์ เพื่อขยายพันธุ์ปลาในแต่ละพื้นที่ด้วย ที่สำคัญในอนาคตเชื่อว่าถึงแม้จะมีการเพิ่มการขยายพันธุ์ปลามากขึ้น แต่ปัจจัยหลักคือระบบชนิเวศ ระดับแม่น้ำน่าน ที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ส่งผลกระทบตามมาขั้นวิกฤติแน่นอน แหละที่สำคัญ จังหวัดน่านหลายชุมชนให้ความสำคัญยังคงอนุรักษ์พันธุ์ปลา แหล่งน้ำ จึงทำให้มีปรากฏการณ์ปลากองนี้เกิดขึ้นซึ่งเป็นมหัศจรรย์แห่งธรรมชาติ 1 ปี มี 1 ครั้ง ปรากฏการณ์ปลากอง อ.บ่อเกลือ จ.น่าน จะไม่มีให้ลูกหลานดูต่อไป
ประสิทธิ์ สองเมืองแก่น